Tuesday, May 10, 2011

24. ตัวแปรดิกชันนารี (Dictionary)

เป็นตัวแปรแถวลำดับอีกรูปแบบหนึ่งคล้ายๆ กับ list และ tuple แต่ตัวแปรชนิดนี้ผู้ใช้จะต้องกำหนดคีย์ในการเข้าถึงเองเพื่อใช้ในการอ้างถึงข้อมูล
รูปแบบการใช้
my_dict={key1:value1,key2:value2,...}
ตัวอย่าง
my_dict1={'..':"สิบเอก",'..':"สิบโท",'..':"สิบตรี"}
ความหมาย
my_dict1['..'] คือ "สิบเอก"
my_dict1['..'] คือ "สิบโท"
my_dict1['..'] คือ "สิบตรี"

27. การลบไฟล์ (File Deleting)


การใช้งาน
Import os
os.remove(ชื่อไฟล์)

26. การอ่านไฟล์ (File Reading)

ในหัวข้อนี้จะนำเสนอ เกี่ยวกับการทำงานติดต่อกับไฟล์เพื่ออ่านข้อมูลที่อยู่ในไฟล์
การใช้งาน
f=open(ชื่อไฟล์,'r')
msg = f.read()
f.close()
print msg

25. การเขียนไฟล์ (File Writting)

ในหัวข้อนี้จะนำเสนอ เกี่ยวกับการทำงานติดต่อกับไฟล์เพื่อเขียนข้อมูลบางอย่างลงไปในไฟล์
การใช้งาน
f=open(ชื่อไฟล์,'w')
f.write(ข้อความ)
f.flush()
f.close()

24. ตัวแปรดิกชันนารี (Dictionary)

เป็นตัวแปรแถวลำดับอีกรูปแบบหนึ่งคล้ายๆ กับ list และ tuple แต่ตัวแปรชนิดนี้ผู้ใช้จะต้องกำหนดคีย์ในการเข้าถึงเองเพื่อใช้ในการอ้างถึงข้อมูล
รูปแบบการใช้
my_dict={key1:value1,key2:value2,...}
ตัวอย่าง
my_dict1={'..':"สิบเอก",'..':"สิบโท",'..':"สิบตรี"}
ความหมาย
my_dict1['..'] คือ "สิบเอก"
my_dict1['..'] คือ "สิบโท"
my_dict1['..'] คือ "สิบตรี"

23. ตัวแปรทูเปิ้ล (Tuple)

เป็นชนิดข้อมูลที่คล้ายๆกับ ลิสต์ แต่ต่างกันที่ ทูเปิ้ล ไม่สามารถแก้ไขค่าข้อมูลได้ ใช้ เครื่องหมาย () ในการประกาศ
ตัวอย่าง
my_tuple = (1,2,3)
หรือสร้างจากลิสต์
my_list = ['a','b','c']
my_tuple2 = tuple(my_list)

22. การคูณลิสต์ (Multiple List)

เป็นการต่อท้ายลิสต์ด้วยลิสต์เดิมตามจำนวนเท่าที่เราต้องการ
ตัวอย่าง
a=[1,2,3]
b=a*3
print b
#[1, 2, 3, 1, 2, 3, 1, 2, 3]

21. การบวกลิสต์ (list addition)

เป็นการเชื่อมต่อลิสต์ด้วยลิสต์ ผลลัพธ์ของการบวกคือจะได้ลิสต์ใหม่ที่มีความยาวเท่ากับลิสต์ตัวแรกบวกลิสต์ตัวหลัง
ตัวอย่าง
a=[1,2,3]
b=[10,11,12]
c=a+b
print c
#[1, 2, 3, 10, 11, 12]

20. การหาขนาดของลิสต์ (list size)

จะใช้คำสั่ง
len()
เพื่อหาขนาดของลิสต์เมื่อต้องการทราบว่าสมาชิกของลิสต์นี้มีกี่ตัว
ตัวอย่าง
my_list=range(1,13,2)
print len(my_list)
#6
#my_list คือ[1, 3, 5, 7, 9, 11]


19. ตัวแปรลิสต์ (List)

มีลักษณะการใช้งานคล้ายๆ กับตัวแปรแถวลำดับในภาษาซี ใช้งานโดยประกาศ ตัวแปรด้วย [] ดังนี้
my_list = [1,2,3]
การอ้างถึงตำแหน่งในลิสต์มี 2 วิธี
1) แบบใช้จำนวนเต็มบวก
0
แทนตำแหน่งแรก
1
แทนตำแหน่งที่สอง
.

2) แบบใช้จำนวนเต็มลบ
-1
แทนตำแหน่งสุดท้าย
-2
แทนตำแหน่งรองสุดท้าย
.



18. คำสั่ง while (while loop)

เป็นคำสั่งวนรอบแบบมีเงื่อนไข จะตัวสอบเงื่อนไขก่อนเริ่มทำคำสั่งภายในแต่ละรอบ จะทำงานคำสั่งในแต่ละรอบเมื่อเงื่อนไขเป็น True และหยุดเมื่อเงื่อนไขเป็น False
รูปแบบการใช้งาน
while เงื่อนไข:
คำสั่ง
ตัวอย่าง
#!/usr/bin/python
# -*- coding: utf-8 -*-
ans = 23
your_ans = 0
while your_ans != ans:
your_ans = input("เดาตัวเลข : ");
if(your_ans>ans):
print "มากไป กรอกใหม่.."
else:
print "น้อยไป กรอกใหม่.."
print "คุณทายถูกแล้ว คำตอบคือ %d"%(ans)

17. คำสั่ง for (for loop)

เป็นคำสั่งที่ใช้วนซ้ำเพื่อทำอะไรคล้ายๆกันหรือเหมือนๆกัน โดยไม่ต้องเปขียนโค๊ดยาวๆหลายๆรอบ
คำสั่ง for นิยมใช้กับการทำซ้ำที่รู้จำนวนรอบที่แน่นอน
รูปแบบการใช้งาน
for variable in list:
    คำสั่งที่จะทำซ้ำ
    #เว้นวรรคเยื้องเข้ามาเพื่อระบุว่าอยู่ใน for loop 
variable คือ ตัวแปรที่เป็นตัววิ่งในแต่ละรอบ
list คือ ตัวแปรลิสต์ที่จะทำการวิ่ง
ตัวอย่าง
n = input("Please insert a number : ");
for i in range(1,13):
     print "%d x %d = %d"%(n,i,i*n)
    #เว้นวรรคเยื้องเข้ามาเพื่อระบุว่าอยู่ใน for loop
ผลลัพธ์
Please insert a number : 3
3 x 1 = 3
3 x 2 = 6
3 x 3 = 9
3 x 4 = 12
3 x 5 = 15
3 x 6 = 18
3 x 7 = 21
3 x 8 = 24
3 x 9 = 27
3 x 10 = 30
3 x 11 = 33
3 x 12 = 36

16. คำสั่ง range() (range function)

เป็นฟังก์ชั่นที่ใช้สร้างกลุ่มตัวเลข มักใช้ร่วมกับคำสั่ง for หรือคำสั่งวนซ้ำอื่นๆ
คำสั่ง rage() มีรูปแบบการใช้งานหลายแบบดังนี้
รูปแบบที่ 1 range(ค่าปลายทาง)
range(5)
จะได้ [0,1,2,3,4]
ค่าเริ่มจาก 0 ไล่ขึ้นทีละหนึ่งและไม่เกิน 5
รูปแบบที่ 2 range(ค่าเริ่มต้น,ค่าปลายทาง)
range(2,6)
จะได้ [2,3,4,5]
ค่าเริ่มจาก 2 ไล่ขึ้นทีละหนึ่งและไม่เกิน 6
รูปแบบที่ 2 range(ค่าเริ่มต้น,ค่าปลายทาง,การนับ)
range(2,12,2)
จะได้ [2,4,6,8,10]
ค่าเริ่มจาก 2 ไล่ขึ้นทีละ 2 และไม่เกิน 12
*การนับสามารถใช้เป็นเลขติดลบได้

15. การใช้ if-elif

เป็นคำสั่งที่ใช้เมื่อต้องตัดสินใจแบบหลายๆทางเลือก
รูปแบบการใช้งาน
if เงื่อนไขที่1:
คำสั่ง1
elif เงื่อนไขที่2:
คำสั่ง2
elif เงื่อนไขที่3
คำสั่ง3
else
คำสั่งเมื่อไม่ตรงกับเงื่อนไขใดๆ

14. คำสั่ง if-else (if-else statement)

จะใช้คำสั่งนี้เมื่อต้งการตัดสินใจทำอะไรบางอย่าง และเมื่อทำแล้วจะไม่ทำอีกอย่างหนึ่ง สรุปคือจะเลือกทำแค่คำสั่งเดียวจากสองคำสั่ง
รูปแบบการใช้งาน
if เงื่อนไข:
คำสั่งที่จะทำเมื่อเงื่อนไขเป็น True
else:
คำสั่งที่จะจำเมื่อเงื่อนไขเป็น False
ตัวอย่าง
age = input("Enter your age : ")
if age>=13:
print "คุณต้องให้คำแนะนำเด็ก"
else:
print "คุณต้องเชื่อฟังผู้ใหญ่"

13. คำสั่ง if (if statement)

จะใช้เมื่อต้องการให้โปรแกรมพิจารณาจะทำคำสั่งนี้หรือไม่
รูปแบบการใช้งาน
if เงื่อนไข:
คำสั่งที่จะทำเมื่อเงื่อนไขเป็น True
ตัวอย่าง
if your_gender=='M':
print "คุณต้องหล่อมากนะครับ"

12. ตัวดำเนินการเปรียบเทียบความสัมพันธ์ (Relational Operator)

สำหรับตัวดำเนินการเปรียบเทียบด้านความสัมพันธ์ของภาษา python มีดังนี้
เครื่องหมาย
ความหมาย
==
เปรียบเทียบความเท่ากัน
!=
เปรียบเทียบความไม่เท่ากัน
>
เปรียบเทียบความมากกว่า
>=
เปรียบเทียบความมากกว่าหรือเท่ากัน
<
เปรียบเทียบความน้อยกว่า
<=
เปรียบเทียบความน้อยกว่าหรือเท่ากัน
is
เปรียบเทียบว่าเป็นชนิดเดียวกันหรือไม่
is not
เปรียบเทียบว่าไม่เป็นชนิดเดียวกัน
in
เปรียบเทียบการเป็นสมาชิก
not in
เปรียบเทียบการไม่เป็นสมาชิก


11. การแสดงข้อความทางจอภาพ

จะใช้คำสั่ง print เพื่อแสดงข้อมูลทางจอภาพ ดังต่อไปนี้
1) การแสดงข้อความ
print "ข้อความที่แสดง"
2) การแสดงตัวแปร
print my_variable
3) การแสดงแบบปนๆกันไป
print "ข้อความ",my_variable
4) การแสดงโดยใช้รูปแบบ
นอกจากการแสดงผลในลักษณะข้างต้นแล้วยังมีการแสดงผลโดยใช้ %d,%f, คล้ายๆ กับพวกภาษาซี ซึ่งจะกล่าวในโอกาสต่อไป

10. การรับค่าทางคีย์บอร์ด (Keyboard Input)

10.การรับค่าทางคีย์บอร์ด
ในภาษา python มีคำสั่งรับค่าข้อมูลทางคีย์บอร์ด 2 คำสั่งคือ

1)
input()
ใช้รับค่าข้อมูลที่เป็นตัวเลข
2)
raw_input()
ใช้รับค่าข้อมูลที่เป็นข้อความ


ตัวอย่าง
my_age = input(“Insert your age : ”)
my_name = raw_input(“Insert your name : ”)

9. การลบตัวแปร (Deleting Variable)

เมื่อเราใช้ตัวแปรเสร็จแล้วและไม่ต้องการนำมาใช้ซ้ำอีกเราจะใช้คำสั่ง
del ตัวแปร
หรือ
del
ตัวแปร1, ตัวแปร2


ตัวอย่าง
del x,y,z

8. การแปลงชนิดข้อมูล (Type Casting)

ในบางโอกาสเราจำเป็นต้องแปลงชนิดข้อมูลไปเป็นแบบต่างๆที่เราต้องการ ซึ่ง python ได้เตรียมคำสั่งเกี่ยวกับการแปลงชนิดข้อมูลให้เราเรียกใช้ดังนี้
คำสั่ง
การใช้
int(x)
ใช้แปลงตัวแปร x ให้เป็นจำนวนเต็ม
float(x)
ใช้แปลงตัวแปร x ให้เป็นจำนวนจริงที่มีทศนิยม
str(x)
ใช้แปลง x ให้เป็นข้อความ
long(x)
ใช้แปลง x ให้เป็นจำนวนเต็มขนาดที่ใหญ่กว่า int
ord(x)
ใช้แปลงอักษร x ให้เป็นตัวเลขรหัส ASCII
hex(x)
ใช้แปลงตัวเลข x ให้เป็นเลขฐานสิบหก

7. การตรวจสอบชนิดตัวแปร (Variable Type)

เราใช้คำสั่ง
type(ตัวแปร)
เพื่อตรวจสอบชนิดของตัวแปร
ตัวอย่าง
x = 100
type(x)

6. เครื่องหมายดำเนินการทางตรรกศาสตร์ (Logic Operator)

ในภาษา python จะใช้ข้อความ or,and,not เป็นเครื่องหมายดำเนินการทางตรรกศาสตร์ เพื่อเปรียบเทียบค่าความจริงเท็จตามหลักเหตุผลทางตรรกศาสตร์
p
q
p and q
p or q
not p
not q
True
True
True
True
False
False
True
False
False
True
False
True
False
True
False
True
True
False
False
False
False
False
True
False
ข้อสังเกตุ :
and จะเป็น True เมื่อตัวที่มาเปรียบเทียบกันเป็น Trueทั้งคู่
or จะเป็น False เมื่อตัวที่มาเปรียบเทียบกันเป็น Falseทั้งคู่
not จะเป็นค่าความจริงตรงข้าม

Monday, May 9, 2011

5. เครื่องหมายดำเนินการทางคณิตศาสตร์ (Math Operator)

เครื่องหมาย
ความหมาย
ตัวอย่าง
ค่าจากการคำนวณ
+
บวก
1+2
3
-
ลบ
3-2
1
*
คูณ
2*4
8
/
หาร
10/5
2
%
หารเอาเศษ
11%5
1
(-)
ติดลบ
-2
-2
**
ยกกำลัง
2**3
8

4. การเขียนคำอธิบาย(comment)

ในบางทีที่เราต้องการเขียนคำอธิบายโค๊ดในแต่ละบรรทัดเราจะใช้เครื่องหมายสี่เหลี่ยม (#) นำหน้าข้อความ เพื่อบอกให้ภาษา python ทราบว่าข้อความหลัง เครื่องหมาย # เป็นแค่คำอธิบายไม่ต้องนำไปประมวลผล
ตัวอย่าง
my_age = 12
#นี่คือการกำหนดตัวเลข
#โปรดใช้วิจารณญานในการอ่าน :)
สำหรับการใช้นั้นปกติเราจะเขียน comment เมื่อ โค๊ดโปรแกรมเข้าใจยาก มีผู้ร่วมเขียนหลายคน เขียนเพื่อกันลืม หรือเขียนเพราะอยากจะเขียนก็ได้

3. การกำหนดค่าให้กับตัวแปร (Assignment)

จะใช้เครื่องหมาย "เท่ากับ"(=) ในการกำหนดค่า

ทางขวาเป็นข้อมูลที่จะเก็บ ทางขซ้ายยคือตัวแปรที่จะเก็บข้อมูลลงไป

my_variable = value

1) การกำหนดค่าที่เป็นเลขจำนวนเต็ม

A = 10

2) การกำหนดค่าที่เป็นเลขจำนวนจริง

B = 3.14

3) การกำหนดค่าที่เป็นตัวอักษรหรือข้อความ

C= "Hello"
หรือ
D = 'Hello'


 

2. การตั้งชื่อตัวแปร (Naming Variable)

1) ห้ามขึ้นต้นด้วยตัวเลข
2) ชื่อตัวแปรห้ามมีช่องว่าง
3) ตัวพิมพ์เล็กใหญ่ของภาษาอังกฤษมีความแตกต่างกัน
4) ห้ามใช้เครื่องหมายพิเศษหรือเครื่องหมายดำเนินการต่างๆ
5) ห้ามซ้ำกับคำสงวนของภาษา python

1. ตัวแปร (Variable)

ในภาษา python ผู้เขียนไม่จำเป็นต้องประกาศตัวแปรก่อนใช้งาน สามารถกำหนดค่าขึ้นมาลอยๆ และก็สามารถใช้งานได้เลย
แต่เพื่อให้ง่ายต่อการแก้ไขโค๊ดควรกำหนดค่าเริ่มต้นแทนการประกาศตัวแปร เช่น x=0 ไว้ก่อนหน้าที่จะมีการเรียกใช้ตัวแปร

ตัวอย่าง
a=0
y=0
c=0